แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำคล้องจอง
ภาษาไทยถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เป็นสมบัติล้ำค่าทางวัฒนธรรมอีกทั้งยังเป็น
เครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ ใช้เป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ดังนั้นครูผู้สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจึง
มุ่งหวัง ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และฝึกฝนในทักษะการอ่านและการเขียน เพื่อให้เกิด
ความชำนาญในการใช้ภาษา สามารถสื่อสารและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างถูกต้อง
การอ่านการเขียนคำคล้องจองเป็นส่วนหนึ่งในทักษะการอ่านการเขียนคำภาษาไทย
คำคล้องจอง หรือ คำสัมผัส เป็นคำที่มีลักษณะอย่างหนึ่งของบทกวี คือเป็นคำที่ใช้สระเดียวกัน
มีตัวสะกดอยู่ในมาตราเดียวกัน แต่ควรมีพยัญชนะต้นต่างกัน ทั้งนี้ในระดับชั้นประถม
ศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) การฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง ยังเป็นเทคนิดวิธีสอน
อีกอย่างหนึ่งในการสอนการฝึกอ่าน ฝึกเขียนที่ดี เพราะการอ่าน การเขียนคำคล้องจองทำให้นักเรียนอ่านคำ ฝึกเขียนคำได้อย่างสนุกสนานสามารถจดจำคำได้ดี คำคล้องจองยังทำให้นักเรียนมีทักษะในการคิดคำสัมผัส สามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเรียนและแต่งคำประพันธ์ในชั้น
ที่สูงขึ้น
เครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ ใช้เป็นเครื่องมือ
ในการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง ดังนั้นครูผู้สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจึง
มุ่งหวัง ให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และฝึกฝนในทักษะการอ่านและการเขียน เพื่อให้เกิด
ความชำนาญในการใช้ภาษา สามารถสื่อสารและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างถูกต้อง
การอ่านการเขียนคำคล้องจองเป็นส่วนหนึ่งในทักษะการอ่านการเขียนคำภาษาไทย
คำคล้องจอง หรือ คำสัมผัส เป็นคำที่มีลักษณะอย่างหนึ่งของบทกวี คือเป็นคำที่ใช้สระเดียวกัน
มีตัวสะกดอยู่ในมาตราเดียวกัน แต่ควรมีพยัญชนะต้นต่างกัน ทั้งนี้ในระดับชั้นประถม
ศึกษาตอนต้น (ป.1-ป.3) การฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำคล้องจอง ยังเป็นเทคนิดวิธีสอน
อีกอย่างหนึ่งในการสอนการฝึกอ่าน ฝึกเขียนที่ดี เพราะการอ่าน การเขียนคำคล้องจองทำให้นักเรียนอ่านคำ ฝึกเขียนคำได้อย่างสนุกสนานสามารถจดจำคำได้ดี คำคล้องจองยังทำให้นักเรียนมีทักษะในการคิดคำสัมผัส สามารถนำไปเป็นพื้นฐานในการเรียนและแต่งคำประพันธ์ในชั้น
ที่สูงขึ้น
คำคล้องจองมีหลายชนิ ด เช่น คำคล้องจอง 2 พยางค์ คำคล้องจอง 3 พยางค์หรือคำคล้องจอง 4 พยางค์
.........................................................................................................................................................................
แบบฝึกทักษะการอ่านคำคล้องจอง คำคล้องจอง 2 พยางค์
ในนา ตาดี มีหู ดูเอา เช้านี้ สีดำ ตำแหลก แยกแยะ แกะขาว
ชาวสวน ม้วนเสื่อ เรือใบ ใฝ่เรียน เขียนอ่าน สานต่อ ส่อเสียด
ชาวสวน ม้วนเสื่อ เรือใบ ใฝ่เรียน เขียนอ่าน สานต่อ ส่อเสียด
เบียดบัง ยังเด็ก เล็กน้อย คอยเฝ้า เจ้าถิ่น สิ้นสุด จุดแดง แสงแดด
แปดเปื้อน เคลื่อนไหว ใช้หมด กดทับ รับฟัง นั่งรอ ห่อข้าว
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำคล้องจอง หมายถึง คำที่ใช้สระเดียวกัน และมีตัวสะกดอยู่ในมาตราเดียวกันแต่มีพยัญชนะต้นต่างกัน
คำคล้องจอง 2 พยางค์ เช่น
นักเรียน เขียนอ่าน การบ้าน ร้านค้า ปลาทอง มองดู ปูม้า ผ้าขาว สาวสวย ช่วยเหลือ
เจือจาน ขานรับ
คำสอนพ่อ ขอจำไว้ ในใจฉัน คั้นน้ำส้ม ลมพัดแรง
ทำการบ้าน งานมากมาย ความตัวดำ จำให้ดี สีชมพู
คนไทยใจดี มีน้ำใจมาก อยากไปเที่ยวป่า อากาศสดชื่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น